การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย – อิหร่าน
ความเป็นมา
ความสำคัญ
อิหร่านเป็นตลาดที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง ประมาณ 84.92 ล้านคน มีศักยภาพในการเป็นฐานกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านและเข้าสู่ตลาดภูมิภาค CIS[2] ซึ่งไม่มีทางออกทะเล อาทิ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีประชากรกว่า 300 ล้านคน โดยอิหร่านเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ อาทิ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน โครเมียม ทองแดง และแร่เหล็ก รวมถึงมีอุตสาหกรรมน้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตของไทยได้ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติก และอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี เป็นต้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมประมงเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าลงทุน เนื่องจากทิศใต้ของอิหร่านติดกับอ่าวเปอร์เซียที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ในขณะที่ไทยมีความพร้อมเป็นแหล่งนำเข้าด้านสินค้าเกษตรและอาหารให้อิหร่าน โดยสินค้าที่มีโอกาสขยายตลาดอิหร่าน ได้แก่ ข้าว ผลไม้เมืองร้อน ปลาทูน่ากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ผักกระป๋อง ข้าวโพด ไม้ กระดาษ ยางพารา ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนตู้เย็น เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ และของตกแต่งบ้าน ทั้งนี้ ในปี 2563 อิหร่านเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 ของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีมูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน 237.38 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 43 จากปีก่อนหน้า และจากข้อมูลสถิติของไทย การค้าสองฝ่ายเคยมีมูลค่าสูงถึง 973 ล้านในปี 2561 ซึ่งคาดว่า เมื่อสถานการณ์การค้าและการลงทุนกลับมาเป็นปกติ การค้าระหว่างกันจะกลับมาขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เนื่องจากอิหร่านเป็นตลาดศักยภาพใหม่ของไทยที่จะสามารถพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
และยังสามารถเป็นประตูการค้าให้กับไทยไปสู่ตลาดข้างเคียงที่มีประชากรจำนวนมาก และมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเป็นวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตของไทยได้ ในขณะที่ไทยมีความพร้อมเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารให้อิหร่านเช่นกัน ดังนั้น การประชุม JTC ไทย – อิหร่าน จะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหง่างกัน และยังสามารถเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันอีกด้วย ทั้งนี้ ผลการประชุม JTC ไทย – อิหร่าน ครั้งที่ 1 มีสาระสำคัญ ดังนี้
สถานะล่าสุด
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ในโอกาสที่เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทย (นายซัยยิด เรซา โนบัคตี) เข้าพบหารือกับอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) ณ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อิหร่านได้แจ้งความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุม JTC ไทย - อิหร่าน ครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ฝ่ายอิหร่านยังไม่มีการประสานเพิ่มเติมในรายละเอียด ทั้งนี้ การดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอิหร่าน ไทยจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศของอิหร่านกับประชาคมโลกประกอบด้วย
------------------------------------
[1] ประเทศมหาอำนาจ P5+1 ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และเยอรมนี
[2] ประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) เป็นองค์กรระหว่างประเทศตั้งขึ้นหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ก่อตั้งเมื่อ 31 ธันวาคม 2544 ประเทศสมาชิกประกอบด้วยประเทศที่ประกาศเอกราชจากสหภาพ
โซเวียต ได้แก่ อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา รัสเซีย ทาจิกิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน
------------------------------------
สำนักเอเชีย แอฟริกาและตะวันออกกลาง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2564
เอกสารที่เกี่ยวข้อง: