Loading
Header Image
คำถามที่พบบ่อย
FTA
มีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลได้-ผลเสีย ในการทำ FTA หรือไม่

ในการเจรจา FTA ได้มีการดําเนินการด้วยความโปร่งใสและรอบคอบ โดยมีการศึกษาล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งก่อนและหลังการเจรจาก่อนการเจรจา  ได้จัดจ้างสถาบันการศึกษาและนักวิชาการ ศึกษา วิเคราะห์เบื้องต้นถึงความเป็นไปได้และประเมินผลดี ผลเสียในการจัดทํา FTA กั บประเทศต่าง ๆ กว่า 60 โครงการ รวมทั้งร่วมศึกษากับบางประเทศที่แสดงความสนใจอยากทําFTA กับไทย เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี เป็นต้น ซึ่งหากกลุ่มประเทศ/ประเทศใดในภาพรวมได้ประโยชน์มากกว่าผลกระทบก็เจรจาต่อไประหว่างการเจรจา  ได้มีการประชุมหารือกับภาคเอกชนรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมและประเมินผลเป็นระยะ ๆ  ควบคู่กันไป  หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็จะศึกษาทบทวนหลังการเจรจา  ติดตามและประเมินผลภายหลังความตกลงมีผลบังคับใช้ รวมถึงแนวทางการขยายประโยชน์จากการทํา FTA

การทำ FTA รัฐบาลให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วนหรือไม่อย่างไร

ในการเจรจาจัดทําFTA  รัฐบาลได้ดําเนินการด้วยความโปร่งใส  ยึดหลั กการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายโดยได้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย และกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากการทําFTA ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  มีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการเจรจา โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ได้ดําเนินการ ดังนี้

การสร้างความรู้ความเข้าใจ

  1. จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการเจรจาต่อกลุ่่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง(SMEs)  เกษตรกร  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงพาณิชย์ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  2. เผยแพร่ข้อมูลผลการเจรจา FTA อย่างกว้างขวางผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
  3. จัดตั้ง Call Center เพื่อตอบข้อซักถามทางโทรศัพท์ที่ หมายเลข 02-507-7555 และร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกในการให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ FTA  ณ ศูนย์ One Stop Service กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก
การมี FTA จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากภาษีศุลกากรลดลง

แม้ว่าการทําความตกลงการค้าเสรี(FTA) จะมีการเปิดตลาดโดยการลดภาษีนําเข้าระหว่างประเทศภาคี และมีข้อกังวลใจว่าFTA จะทําให้ประเทศไทยมีรายได้จากการเก็บภาษีศุลกากรลดลง แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเมื่อหักล้างกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศภาคีแล้ว ในที่สุดรัฐจะมีรายได้จากการเก็บภาษีต่างๆ ในประเทศลดลง เนื่องจากรายได้หลักของรัฐบาลมาจากการจัดเก็บภาษีโดย
กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ซึ่งในปีงบประมาณ2552 สัดส่ วนต่อรายได้รัฐทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ75.4,  19.3  และ5.3 ตามลําดั บ  ดังนั้น การลดภาษีศุลกากรภายใต้FTA อาจมีผลต่อรายได้โดยรวมของรัฐไม่มากนัก ทั้งนี้  FTA จะช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศภาคี เมื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ผู้้ประกอบการมีรายได้มากขึ้น การลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นและมีการจ้างงานมากขึ้น รัฐอาจจัดเก็บภาษีชนิดอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น ที่สําคัญมีดังนี้

  1. ภาษีทางตรง เมื่อผู้้ประกอบการมีรายได้มากขึ้น หรือมีการจ้างงานมากขึ้น รัฐย่อมเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลได้มากขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการจัดเก็บภาษีจากแรงงานหรือผู้้ประกอบการต่างชาติ ที่เข้ามาทํางานหรือเข้ามาลงทุนและมีรายได้ในประเทศไทย
  2. ภาษีทางอ้อม
     2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) เมื่อมีการนําเข้าสินค้า หรือเมื่อมีการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
    ในประเทศ รัฐย่อมสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น
     2.2 ภาษีธุรกิจเฉพาะ รัฐอาจจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกับผู้้ประกอบธุรกิจบางประเภทที่กฎหมาย
    กําหนดได้เพิ่มขึ้น เช่น
     - เมื่อมีการขายห้องชุ ดหรือที่ดินให้แก่ผู้้ประกอบการเพิ่มขึ้น
     - เมื่อธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้้ประกอบการเพื่อใช้ลงทุนในกิจการเพิ่มขึ้น เป็นต้น

การใช้ประโยชน์จาก FTA ด้านการลงทุน มีเพียงใด

จากสถิติ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีการขอใช้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากFTA โดยตรงเพียง1 ราย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ในธุรกิจบริการติดตั้งแผ่นเหล็กกล้าที่ใช้ในการ
มุงหลังคาและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ทําด้วยเหล็กกล้า โดยมีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท เมื่อปี2549 การที่มีการขอใช้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากFTA โดยตรงไม่มากนัก เนื่องจากไทยไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนภายใต้FTA เกินกว่าที่กฎหมายปัจจุบั นกําหนดไว้ อย่างไรก็ตาม นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจากBOI แล้ว การจั ดทําความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุนจากต่างประเทศได้

 มูลค่าการลงทุน(ล้านบาท)

ประเทศ ก่อนทำ FTA 2547 2548 2549 2550 2551 2552
ออสเตรเลีย  2547 :    4,987.8 - 1,209.7 513.7 1,557.4 3,195.0  676.0
นิวซีแลนด์ 2547 :       108.0 - - 80.0 42.7 875.0 -
จีน 2546 :    1,389.6 4,432.5 2,285.6 2,455.7 15,855.9 3,474.0 7,009.0
อินเดีย   2546 :    3,519.3 1,615.2 1,105.9 2,670.6 7,398.3 9,592.0 3,680.0
ญี่ปุ่น 2550 : 164,323.0 - - - - 106,155.0 58,905.0
อาเซียน 2535 :   11,118.2 29,826.0 35,573.0 23,031.0 50,087.0 50,407.0 18,227.0

ที่มา :   มูลค่าการลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติ : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

มีหลักเกณฑ์อะไรในการคัดเลือกประเทศที่จะทำ FTA

รัฐบาลได้เลือกประเทศที่จะทํา FTA โดยมีเหตุผลสําคัญ  เพื่อรักษาสถานภาพและศักยภาพในการส่งออกของไทยในการขยายโอกาสการส่งออก  และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสินค้าไทยโดยมีหลั กเกณฑ์ในการเลือกประเทศที่ทํา FTA ดังนี้

  • เป็นตลาดการค้าดั้งเดิมของไทย เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ฯลฯ
  • ตลาดใหม่ ที่มีศักยภาพ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์  ฯลฯ
  • แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาตํ่า  เช่น จีน  อินเดีย ฯลฯ
  • ประเทศที่มีศักยภาพด้านการค้าและการลงทุน เช่น เปรู สมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association : EFTA) และเป็นประตู เชื่อมโยงการค้าและการลงทุ นไปสู่ประเทศในภูมิภาค
    ใกล้เคียง

ทำไมต้องทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

ปัจจุบันสถานการณ์การแข่งขันในตลาดโลกได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ไทยต้องพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ การส่งออกถือเป็นจักรกลสําคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2552 นํารายได้เข้าประเทศกว่า 5 ล้านล้านบาท  คิดเป็นครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด การทํา FTA จึงมีผลสําคัญเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

  • ช่วยรักษาตลาดเดิม  และขยายการค้าสู่ตลาดใหม่  เพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าและบริการของไทยที่มีศักยภาพ
  • ลดอุปสรรคด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน
  • ลดการพึ่งพาสิทธิพิเศษด้านภาษี (Generalized System of Preference :GSP)  ซึ่งมีความไม่แน่นอน
  • ดึงดูดต่างชาติให้ย้ายฐานการผลิตและการลงทุนมาไทยมากขึ้น  ขณะเดียวกันสนับสนุนคนไทยไปลงทุนต่างประเทศ
  • ผลักดันให้มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่มีศักยภาพจากการที่ไทยยังต้องพึ่งการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออก ไทยจึงต้องทํางานใน 2 ส่วนไปพร้อม ๆ กัน ส่วนแรกคือการเจาะตลาด/ส่งเสริมการส่งออก ส่วนที่ 2 คือ การทําให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลง ซึ่งการทําให้อุปสรรคลดน้อยลงนั้น ต้องทําผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่าง ๆ
  • การเจรจาในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น FTA ระดับโลกที่ GATT/WTO โดยสมาชิก 100 กว่าประเทศมาเจรจาพร้อมกันหมด
  • การเจรจาใน 10 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนมาเน้นการเจรจา FTA ในระดับภูมิภาค เช่น EUNAFTA ตามด้วยระหว่างภูมิภาค เช่น EU-Mercosur และ FTA ระหว่างประเทศ
  • ไทยต้องเจรจาเพื่อรักษา margin ในการแข่งขันของไทยไว้ไม่ให้สินค้าของไทยในตลาดคู่ค้าเสียเปรียบคู่แข่ง เพราะได้สิทธิพิเศษดีกว่าไทย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการภาษี หรือมิใช่ภาษี(NTM : Non-tariff Measures)

ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) หมายถึงอะไร

ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทําความตกลงการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่ความตกลงการค้าเสรีในระยะหลังๆ นั้นรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (services) และการลงทุนด้วย

กระบวนการจัดทำหนังสือสัญญาเป็นไปโดยเปิดเผย โปรงใส และทั่วถึงหรือไม่อย่างไร

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ตั้งแต่เริ่มเจรจา โดยเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น โดยได้หารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน กลุ่มส่วนที่มีส่วนได้เสีย กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการเจรจา มีการดำเนินการในแนวทางต่างๆ ดังนี้

  • หน่วยงานรัฐ การประชุมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
  • ภาคการเมือง การชี้แจงข้อมูลสถานการณ์เจรจา และรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะ กรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นระยะๆ
  • ภาคเอกชน
  • หารือกับผู้ผลิต ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมกว่า 30 สาขา
  •  การประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯและสภาหอการค้าฯเป็นประจำและต่อเนื่อง
  • ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักวิชาการ

  • การจัดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน เกี่ยวกับความตกลงต่างๆแต่ละความตกลง 7 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2552

  • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก ให้บริการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ FTA ณ ศูนย์ One Stop Services กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก

  • การจัดสัมมนา ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและรับฟังข้อคิดเห็นอย่างสม ่าเสมอ โดยตั้งแต่ ต.ค. 2550 – 2552 ได้จัดสัมมนารวม 79 ครั้ง

  • การเปิดให้มีส่วนร่วมในวงกว้าง

  • จัดทำแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับ FTA เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชน ผ่านระบบอินเตอร์เนตของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • จัดตั้ง Call Center เพื่อให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ รับเรื่องร้องทุกข์และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลการเจรจาของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเข้าร่วมศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 โดยผ่าน 4 ช่องทางของสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์สายด่วนรัฐบาล หมายเลข 1111,เว็บไซต์ www.1111. go.th ,ตู้ ป.ณ.1111 ไม่ต้องติดแสตมป์และจุดบริการประชาชน 1111
กระทรวงพาณิชย์เท่านั้นที่ไปเจรจา หรือได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ้างหรือไม่

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในการจัดทำหนังสือสัญญาทั้งหมดที่นำเสนอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่างๆ จึงได้ประสานให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเจรจาจัดทำความตกลงด้วยตั้งแต่เริ่มแรก เช่น

  • ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าของอาเซียน ได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนของอาเซียน ได้ร่วมกับกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • ความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่เจรจา ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละหัวข้อเจรจา เช่น
    • การลดภาษีสินค้า ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงอุตสาหกรรม
    • พิธีการศุลกากรและถิ่นกำเนิดสินค้า ร่วมกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
    • มาตรฐานสินค้าและมาตรการสุขอนามัย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น

การค้าและสิ่งแวดล้อมภายใต้ WTO มีประโยชน์อย่างไร

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาแล้วได้พยายามนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญมากขึ้นในหลายๆ ด้านรวมไปถึงการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้วย จึงส่งผลให้สิ่งแวดล้อมมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ทั้งในการผลิตและการค้าสินค้า WTO เองก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน โดยได้มีประเด็นการเจรจาอยู่ 3 เรื่องคือ

  1. ความสัมพันธ์ระหว่างกฎเกณฑ์ WTO กับมาตรการการค้าภายใต้ความตกลงสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
  2. กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายเลขาธิการของความตกลงพหุภาคีเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Multilateral Environmental Agreements : MEAs) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมของ WTOและหลักเกณฑ์ในการให้สถานะผู้สังเกตการณ์แก่ MEAs
  3. ลดหรือยกเลิกมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้เป็นประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากสามารถเห็นผลในเชิงรูปธรรมได้ชัดเจน ที่ผ่านมา ในการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมภายใต้WTO ประเทศสมาชิกมีความต้องการที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการให้คำจำกัดความของสินค้า

สิ่งแวดล้อมหรือวิธีการลดภาษีประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหภาพยุโรปได้พยายามผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะต้องการรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมกับขยายการค้า และให้มีการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เช่น ยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและยังไม่มีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด อีกทั้งยังเกรงว่าประเทศพัฒนาแล้ว อาจใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า จึงทำให้การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงปัจจุบันนี้ และยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการเจรจากันต่อไป

WTO
คดีสำคัญที่ไทยฟ้องชนะใน WTO มีอะไรบ้าง

การต่อสู้กับประเทศใหญ่ในกรณีที่ประเทศเหล่านั้นมีการใช้มาตรการที่บิดเบือนการค้า ซึ่งไทยได้รับประโยชน์ และชนะคดีที่ประเทศอื่นๆ กีดกันการค้าในหลายกรณี เช่น กรณีพิพาทไก่หมักเกลือ ไทยได้ร่วมกับบราซิล ยื่นฟ้องสหภาพฯต่อ WTO กรณีที่สหภาพฯเปลี่ยนประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าไก่หมักเกลือเป็นสินค้าไก่แช่แข็ง ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 53 รวมภาษีที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ซึ่งองค์กรอุทธรณ์ของ WTO ได้ตัดสินให้ไทยชนะคดี ทำให้สหภาพฯต้องลดภาษีนำเข้าไก่หมักเกลือลงมาที่อัตราเดิม

กรณีพิพาท C-Bond และ Zeroing ไทยได้ดำเนินการฟ้องร้องสหรัฐอเมริกา กรณีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บเงินประกันภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทย หรือ C-bond และใช้มาตรการ Zeroing เพื่อคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด เป็นการกีดกันทางการค้าและขัดกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งของไทยกว่าครึ่งหยุดการส่งออก เนื่องจากผู้ส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งของไทยต้องวางประกันสูงขึ้นกว่าเดิมประมาณปีละ 1,370 ล้านบาท มาตรการดังกล่าวจึงสร้างภาระให้ผู้ส่งออกไทยเป็นอย่างมาก และองค์กรอุทธรณ์ได้ตัดสินให้ไทยชนะคดีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551

กรณีพิพาทน้ำตาล ไทยร่วมกับบราซิลและออสเตรเลียฟ้องสหภาพยุโรปต่อ WTO ว่าสหภาพยุโรปให้การอุดหนุนส่งออกน้ำตาลเกินกว่าที่ WTO อนุญาตถึง 3.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าการอุดหนุนส่งออกสูงกว่าที่ผูกพันไว้ประมาณ 32,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2545 ไทยได้รับความเสียหายจากการอุดหนุนส่งออกน้ำตาลของสหภาพยุโรปเป็นเงินประมาณ 6,500 ล้านบาท องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ได้ตัดสินให้ฝ่ายไทยชนะคดีดังกล่าว ส่งผลให้สหภาพยุโรป ต้องลดการอุดหนุนส่งออกน้ำตาลลงเหลือไม่เกินปีละ 1.27 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าการอุดหนุนส่งออกไม่เปิด 499 ล้านยูโรต่อปี ตามที่ได้ผูกพันไว้ใน WTO ทำให้ไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกสามารถส่งออกน้ำตาลได้ในปริมาณและราคาที่สูงขึ้น

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ภายใต้ WTO มีประโยชน์อย่างไร

กรณีที่ผู้ส่งออกสินค้าส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศ (Export Price) ในราคาที่ตํ่ากว่าราคาที่ขายภายในประเทศของตน (Normal Value) หรือที่เรียกว่า การทุ่่มตลาด ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และมีผลให้อุตสาหกรรมภายในของประเทศผู้้นําเข้าได้รับความเสียหาย และก่อให้เกิดผลกระทบต่ อระบบเศรษฐกิจและการค้าของประเทศคู่แข่งขัน ดังนั้น WTO จึงอนุญาตให้ประเทศผู้้นําเข้าที่ถูกทุ่่มตลาดสามารถเก็บภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่่มตลาดได้ แต่จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์กติกาที่WTO กําหนดไว้เท่านั้น และไม่สามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่่มตลาดตามอําเภอใจได้ โดยผู้้ประกอบการของประเทศผู้้นําเข้า สามารถยื่นคําร้องขอต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ไต่สวนว่าสินค้าที่นําเข้ามีการทุ่่มตลาดหรือไม่ โดยประเทศผู้้นําเข้าจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า

  1. มีการทุ่่มตลาดในสินค้าที่ถูกยื่นขอให้ไต่สวนจริง
  2. มีความเสียหายเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศผู้้นําเข้า
  3. ความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากการทุ่่มตลาด

ทั้งนี้ ประเทศที่เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่่มตลาดจะเรียกเก็บได้ไม่เกิน 5 ปี และผู้้มีส่วนได้เสีย ได้แก่  ผู้้ส่งออกหรือผู้้นําเข้าซึ่งอยู่่ภายใต้การไต่สวน รัฐบาลประเทศของผู้้ส่งออก หรือผู้้ผลิตสินค้าที่เหมือนกันหรือประเภทเดียวกันของประเทศผู้้นําเข้า สามารถยื่นขอทบทวนเพื่อ ติการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่่มตลาด หรือลด หรือเพิ่มภาษีอากรตอบโต้การทุ่่มตลาดที่เรียกเก็บได้ แต่จะต้องมีเหตุผลและข้อมูลสนับสนุนด้วย

ลำดับขั้นการฟ้องร้องคดีใน WTO เป็นอย่างไร

กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO (DSU) เปรียบเสมือนศาลการค้าระหว่างประเทศ ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิก WTO  และมีบทลงโทษกรณีภาคีที่ถูกตัดสินว่าทําผิด กฎเกณฑ์ของ WTO และไม่ยอมปฏิบัติ ตามคําตัดสิน กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจากประเทศสมาชิก เห็นได้จากจํานวนกรณีพิพาทที่ได้มีการนําเข้าสู่่กระบวนการดังกล่าวกว่า 400 คดี นับตั้งแต่ ก่อตั้ง WTO ในปี 2538 จนถึงปัจจุบัน

ผู้้ที่สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องใน WTO ได้ จะต้องเป็นรัฐบาลของประเทศสมาชิกเท่านั้นโดยประเทศสมาชิกที่เห็นว่าตนเสียประโยชน์เพราะประเทศสมาชิกอื่นไม่ยอมปฏิบัติตามความตกลง WTO ก็สามารถขอหารือกับสมาชิกที่ทําให้ตนเสียหายได้  และหากไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ได้รับความเสียหายก็สามารถขอตั้งคณะผู้้พิจารณาซึ่งทําหน้าที่เหมือนศาล เพื่อให้ตัดสินคดีได้  โดยที่การฟ้องร้องของ WTO มี 2 ลําดับขั้น  คือ การฟ้องคดีต่อคณะผู้้พิจารณา (Panel) ซึ่งเปรียบเสมือนศาลการค้าของโลก และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate  Body) ซึ่งเปรียบเสมือนศาลสูง  คณะผู้้พิจารณาจะทําหน้าที่พิจารณาและตัดสินคดี หากประเทศคู่่กรณีไม่อุทธรณ์คําตัดสินของคณะผู้้พิจารณา  สมาชิก WTO ก็จะรับรองคําตัดสินดังกล่าวและถือว่าคําตัดสินนั้นเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่กรณี เว้นแต่ สมาชิกทั้งหมด 153 ประเทศ มีมติเอกฉันท์ไม่รับรองคําตัดสิน ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากมาก

หากประเทศคู่กรณีไม่เห็นด้วยกับคําตัดสินของคณะผู้้พิจารณา ก็สามารถอุทธรณ์ต่อองค์กรอุทธรณ์ได้  และประเทศที่แพ้คดีจะต้องยกเลิกการกระทําที่ถูกตัดสินว่าขัดกับความตกลง WTO ทันทีหรือภายในระยะเวลาที่กําหนด

หากการเจรจารอบโดฮาสำเร็จ และมีผลบังคับใช้ไทยคาดว่าจะได้ประโยชน์อย่างไร

ความสําคัญของการเจรจาต่อประเทศไทยหากการเจรจาสามารถได้ข้อยุติ ได้โดยเร็ว ผลประโยชน์สําคัญที่ไทยจะได้รับ คือ

  • โอกาสการเปิดตลาดจะมีมากขึ้น  เนื่องจากอัตราภาษีนําเข้าจะลดลง โดยเฉพาะในสินค้าสําคัญๆ ของประเทศคู่ ค้าหลักทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร เนื่องจากในปัจจุบั น อัตราภาษีนําเข้ายังอยู่่ในอัตราที่สูง เช่น สหรัฐฯ  สินค้ารองเท้าท 60%  สิ่งทอท 30%  อาหารทะเลกระป๋อง 20% ญี่่ปุ่น  สินค้าข้าว 1,000%  คานาดา เนื้อไก่150% เกาหลี มันสําปะหลัง 887% ไต้หวัน นํ้าตาล 143% เป็นต้น ดังนั้น หากภาษีนําเข้าลดลง โอกาสในการขยายตลาดสินค้าของไทยในตลาดหลักจะมีมากขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้  จะทําให้ไทยมีโอกาสเปิดตลาดใหม่ โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนาในกลุ่่มอัฟริกา ลาติน อเมริกา และเอเซีย เนื่องจากประเทศกําลังพัฒนาในกลุ่่มเหล่านี้ ยังมีอัตราภาษีเฉลี่ยในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ สินค้าอิเลคโทรนิกส์  สิ่งทอ เครื่องประดับ เป็นต้น
  • ด้านการแข่งทางการค้าจะมีความเป็นธรรม  เนื่องจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้าจะลดลง หรือ หมดไป  โดยเฉพาะการอุดหนุนการผลิตสินค้าภายใน และการสนับสนุนการส่งออกของสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสําคัญของไทย (มูลค่าส่งออกกว่า3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งในปัจจุบันประเทศใหญ่ๆ ได้ให้การอุดหนุนอยู่มากโดยเฉพาะสินค้า ข้าว นํ้าตาล ไก่ เช่น
    -  การอุดหนุนภายใน:  ข้าว: สหภาพฯ 556 ล้านยูโร สหรัฐฯ 607 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯนํ้าตาล : สหภาพฯ 5,800ล้านยูโร สหรัฐฯ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    - การสนับสนุนการส่งออก:   ข้าว:สหภาพฯ 30 ล้านยูโร  สหรัฐฯ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นํ้าตาล:สหภาพฯ 400 ล้านยูโร ไก่:สหภาพ และ สหรัฐฯ120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    ทั้งนี้  การอุดหนุนภายใน และ การสนับสนุนการส่งออก เป็นการก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้าอันส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีมาก และก่อให้เกิดภาวะราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกตกตํ่า ผลคือ สินค้าเกษตรของไทยจะไม่ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างที่ควร
  • โอกาสที่่คนไทยจะสามารถเดินทางไปทํางานหรือ  ดําเนินธรุกิจในต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะในสาขาทที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน เช่น บริการด้านสุขภาพ ความงาม สปา ร้านอาหาร และโรงแรม เป็นต้น

จากผลการศึกษาขององค์กรวิชาการในสหรัฐฯ ประเมินว่า หากการเจรจารอบโดฮาสําเร็จจะทําให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 180-520 พั นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และ GDP เพิ่มขึ้น 300-700 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี อันจะช่วยลดช่องว่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกําลังพัฒนาลง  และช่วยบรรเทาวิกฤติเศรษฐกิจที่ทุกประเทศกําลังเผชิญอยู่ด้วย

      
รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

จำนวนการเข้าชม : 4,023,683